Posted in Uncategorized

สิ่งที่คนขายไม่ได้บอก(หรือคนขายไม่รู้) Printer ชนิด Ink-Tank


1354711407_462426897_1-Pictures-of--new-printer-brother-j-125-with-ink-tankขอแชร์ประสพการณ์สำหรับผู้ที่คิด หรือกำลังจะซื้อ Printer เครื่องใหม่ ชนิด Ink-Tank

ในแต่ละวันที่ออฟฟิสจะมีการสั่งพิมพ์เอกสารออกมากพอสมควร และผมเป็นคนนึง ที่มีบางคนบอกว่า ใช้ Printer เปลือง
ผมลองใช้ตั้งแต่เครื่อง 8-9ร้อย ยันเครื่องเกือบครึ่งแสน ทั้งซื้อเอง และใช้ของคนอื่น รวมทั้งสอบถามประสพการณ์จากเพื่อนๆ พอสรุปได้ดังนี้ครับ

1. Printer มีหลายแบบให้เลือก (ดอตเมตริกซ์ ,อิงค์เจ็ต, เลเซอร์, มัลติฟังก์ชัน) ขอให้เลือกที่เราจะใช้งานจริงๆ ลองหาข้อมูลจาก Google “การเลือกซื้อ Printer” จะได้คำตอบครับ ผมไม่ขอพูดถึง เพราะมันเยอะมาก

แต่เดี๋ยวนี้ จะมี GelSprinter เครื่องพิมพ์แบบ Liquid Gel เทคโนโลยีการพิมพ์แบบใหม่ มีราคาที่ไม่แพงใช้งานง่ายเหมือนอิงค์เจ็ท แต่มีต้นทุนในการพิมพ์งานสีและมีความละเอียดในระดับเทียบเท่ากับเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์

1. Printer ราคาถูก มักจะมีตลับหมึกแพง (ถึงตลับหมึกถูก ก็พิมพ์ได้ไม่กี่หน้าก็หมด) ดังนั้น ก่อนตัดสินใจซื้อ Printer ควรสอบถามราคาตลับหมึก หรือ Toner ให้เรียบร้อยก่อน แล้วพิจารณาจากงานและปริมาณการใช้

2. Printer แบบ All-in-One อาจเหมาะสำหรับบางคน ไม่ใช่สำหรับทุกคน All-in-One เหมาะสำหรับออฟฟิสขนาดเล็ก มีการพิมพ์ไม่มาก ถ่ายเอกสารไม่เยอะ ส่ง Fax บ้างเป็นครั้งคราว แต่ถ้าพิมพ์เยอะๆ ซื้อแบบแยกดีกว่าครับ
อย่าลืมว่า เวลาเครื่องมีปัญหา ต้องยกทั้งเครื่องไปซ่อม งานของคุณจะสะดุด หรือถ้าจะใช้ All-in-One จริงๆ ควรมีเครื่องแฟ๊กซ์ หรือเครื่องถ่ายเอกสารสำรองไว้ด้วย

3. ถ้าสำนักงานของคุณ มีงานพิมพ์เอกสาร ขาว-ดำ เป็นส่วนใหญ่ แนะนำให้เลือกซื้อ Mono Laser Printer จะประหยัดกว่า และควรไปเดินดูตามห้าง หรือร้านค้าทั่วไปสักนิด ว่า Toner ที่ใช้นั้น เป็นรุ่นที่หาซื้อได้จากร้านทั่วไปหรือไม่ นอกจากของแท้แล้วมี Toner เทียบเท่าหรือไม่? ถ้าไม่ใช่ อย่าซื้อ เพราะจะน้ำตาตกเหมือนผม (ซื้อเครื่องราคาหลายหมื่น มานั่งดู เพราะ Toner แพงโคตรๆ และไม่ค่อยมีของ จะสั่งที ต้องรอเป็นสัปดาห์ และต้องเตรียมเงินหมื่นรอจ่ายค่า Toner)

4. ถ้าคุณพิมพ์ภาพถ่ายเป็นหลัก แนะนำให้เลือกพรินเตอร์ที่มีความละเอียดสูงไว้ก่อน และให้ดูปริมาณหน่วยความจำของเครื่องพรินเตอร์ไว้ด้วย หน่วยความจำยิ่งมาก จะทำให้การประมวลผลเร็วขึ้น เครื่องจะไม่แฮงค์บ่อย
การพิมพ์ภาพถ่าย แนะนำให้ใช้หมึกแท้ ไม่แนะนำหมึกเติม (จากประสพการณ์ ซื้อกระดาษ Glossy แพงๆ มาพิมพ์ภาพใช้หมึกเติม ผลปรากฎว่า สีเพี้ยนมาก และ ภาพนั้น อยู่ได้ไม่ถึงปี สีจะซีดเหลือง เสียดายมาก)

4. ถ้าสำนักงานของคุณมีเครื่องคอมพิวเตอร์มากกว่า2 เครื่อง แนะนำให้เลือกซื้อแบบที่มี Lan, Wifi หรือ Wireless มาใช้ดีกว่าการต่อพ่วงแบบ USB (นอกจากคุณมี Print Server อยู่แล้ว) เพราะไม่เช่นนั้น เครื่องคอมฯที่คุณต่อพ่วงอยู่กับพรินเตอร์จะต้องแชร์พรินเตอร์ให้ใช้ร่วมกับเครื่องอื่น และจะต้องเปิดก่อน และปิดทีหลัง และเครื่องที่ต่อพ่วง จะต้องมี Spec สูงกว่าปกติเพื่อรองรับปริมาณข้อมูลที่ถูกส่งผ่านเข้ามา ดังนั้น การใช้ Printer แบบ Lan หรือ Wifi สามารถสั่งพิมพ์จากเครื่องไหนก็ได้ ลดการใช้พลังงาน ลดค่าไฟ ลดภาระไปเยอะครับ

จริงแล้ว ปัญหาเรื่องพรินเตอร์มีเยอะมาก ผมไม่ขอพูดถึงดีกว่า สงสัยอะไร ถาม Google ละกัน

ทีนี้ เราจะมาดูเรื่องที่คนขายไม่ได้บอกเกี่ยวกับ Printer Ink-Jet แบบติดแทงค์ กันครับ

หลังจากพิจารณาเลือกเครื่อง Printer (ยี่ห้อ-รุ่น-ฟังชั่น) ที่จะซื้อแล้ว ให้พิจารณาดังนี้

1. เครื่องพรินเตอร์ใหม่ (แกะกล่อง) ควรเลือกแบบที่ยังไม่ได้ติดตั้งหมึกมาก่อน (ส่วนใหญ่มักเป็นเช่นนั้น)
2. ให้ดูว่า เครื่องที่เราต้องการ มีแทงค์สำหรับรุ่นนั้นๆหรือไม่
3. ยี่ห้อหมึกเติมที่ใช้ในแทงค์ เป็นที่รู้จัก หาซื้อได้ง่ายตามร้านทั่วไป (ไม่ขอแนะนำตรงนี้ครับ)
4. แนะนำให้เลือกแบบตลับหมึกติดหัวพิมพ์เลย จะดีกว่า (แต่แพงกว่า) ในกรณีที่หัวพิมพ์ตัน แค่เปลี่ยนตลับหมึกก็เหมือนใหม่
5. อย่าลืมว่า เมื่อใดก็ตามที่คุณติดแทงค์ พรินเตอร์บางยี่ห้อ จะหมดประกันทันที และคุณต้องทำใจ ว่าพรินเตอร์เครื่องนั้น จะมีอายุการใช้งานสั้นลง

ทีนี้ มาถึงขั้นตอนสำคัญ (เรื่องนี้ ผมทะเลาะกับร้านมาแล้ว)
เมื่อคุณตัดสินใจซื้อเครื่อง (ซึ่งเครื่องพรินท์เตอร์ใหม่ๆ จะมีหมึกแท้แถมมาให้เลย) ส่วนใหญ่ทางร้านจะ Run หมึกให้ แต่ละร้านจะทำไม่เหมือนกันครับ

-1- บางร้าน จะ Run หมึกแท้เข้าไปก่อน แล้วเอาตลับหมึกแท้ออก แล้วเสียบแท้งค์เข้าไปแทน
-2- บางร้าน เสียบหมึกแทงค์เข้าไปเลย

ส่วนตัวผม อยากให้ทำวิธีที่ -2- เพราะอะไรหรือครับ?
จากการทดลองใช้งานมา กว่า 5 ปี สังเกตุจากการใช้มา ไม่ต่ำกว่า 10 เครื่อง สรุปดังนี้

1. หมึกพิมพ์ เป็นสารเคมี ที่ถูกคิดค้นและผสมกันระหว่างสีและสารเคมีอื่นๆ การ Run หมึกแท้ แล้วตามด้วยหมึก Tank จะทำให้สารเคมีต่างชนิดกันถูกผสมกัน ทำเป็นเหตุทำให้หัวพิมพ์ตันเร็วกว่าปกติ
จากการใช้งาน (ในปริมาณการพิมพ์ที่พอๆกัน เฉลี่ย วันละ 30 แผ่น) เครื่องที่ Run หมึกแท้ แล้วตามด้วย หมึกแทงค์ Tank หัวพิมพ์จะเป็นเส้น (ตัน)ในเวลาไม่เกิน 1 ปี ส่วนเครื่องที่ Run ด้วย หมึก Tank ตั้งแต่ต้น ยังใช้งานได้ตามปกติ (ถึงวันนี้ 3 ปีเต็ม) ผมซื้อรุนเดียวกัน แต่คนละร้านครับ

2. ห้ามใช้หมึกแทงค์ต่างยี่ห้อผสมกัน เหตุผลตามข้อ1
3. อย่าวางเครื่องพิมพ์ ในลักษณะต่อไปนี้ เพราะจะมีผลกับการใช้งานทั้งสิ้น
– พื้นที่ ที่มีอุณหภูมิเปลี่ยนแปลง ร้อน เย็น หรือแดดส่องถึง
– พื้นที่ๆ ที่มีฝุ่น
– วางในลักษณะเอียง
– เคลื่อนย้ายบ่อยๆ
– พื้นที่วางเครื่องสั่น-ไหว

4. หากมีการพิมพ์หลายๆแผ่น ควรพักบ้าง เพราะเครื่องพิมพ์บางรุ่น หัวพิมพ์อาจร้อนจัด(ไหม้)ได้
5. ควรสั่งพิมพ์ทุกวัน หากไม่ได้ใช้เครื่องพิมพ์ นานกว่า 1 สัปดาห์ จะทำให้หมึกแห้ง เป็นผลให้หัวพิมพ์ตันได้ครับ
6. อย่าลืมว่า งานพิมพ์ที่ใช้ Ink-Tank ส่วนใหญ่สีจะเพี้ยน และอายุการใช้งานสั้นกว่าหมึกแท้ ถ้าต้องการงานที่เนี๊ยบและอายุการใช้งานนานๆ แนะนำให้ใช้หมึกแท้ คุ้มกว่าครับ เช่นพิมพ์รูปถ่ายใส่กรอบ งานพิมพ์ ป้ายโฆษณาที่ต้องการช่วงระยะเวลามากกว่า 6 เดือน Display เมนูอาหาร เป็นต้น

ก็คงพอเป็นแนวทางสำหรับคนที่ต้องการลดต้นทุนงานพิมพ์ ซึ่งทั้งหมดทั้งมวล เป็นความคิดเห็นและประสบการณ์ส่วนตัวล้วนๆ ไม่ได้ลอกมาจากที่อื่น หากผิดถูกอย่างไร ก็สามารถแสดงความคิดเห็นร่วมกันได้ครับ

ตายิ่ง…

ผู้เขียน:

E29TGA

13 thoughts on “สิ่งที่คนขายไม่ได้บอก(หรือคนขายไม่รู้) Printer ชนิด Ink-Tank

  1. ขอบคุณสำหรับบทความดีๆ ที่มาจากประสบการณ์ครับ
    แนะนำยี่ห้อเปรียบเทียบหน่อยก็ดีครับ หากไม่ผิดกติกา

  2. ขอบคุณมากเลยครับที่ทำบทความนี้ขึ้นมา ผมได้ความรู้เกี้ยวกับเครื่องปริ้นที่ผมเองยังไม่รู้มาเยอะมากครับ ขอบคุณครับ

  3. เป็นประโยชน์กับคนทั่วไปมากเลยครับ ขอบคุณครับ จะหาซื้อPrinterเครื่องใหม่ต้องศึกษาข้อมูลก่อน

  4. จะซื้อใว้พิมพ์งานให้ลูกๆ สัปดาห์หนึ่ง พิมพ์ 3 วัน
    ต้องการพิมพ์ แบบ remote (google print, ios air print)ได้
    รบกวน ฟันธงได้ไหมครับ ใช้ ยี่ห้อ รุ่นไหนดี
    ส่วนตัว กำลังมอง Epson ติด tank จากโรงงาน
    ขอบคุณมากๆครับ

  5. ขอบคุณมากครับ ประสบการณ์จากที่คนเคยใช้แล้วมาแนะนำ ดีกว่าไปหาข้อมูลเองมากครับ

Your Message : ข้อความของคุณ..